วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

โครงร่าง แนวการสอนรายวิชา การประยุกต์จิตวิทยาสำหรับครู


คำอธิบายรายวิชา
ความสำคัญของจิตวิทยากับครู การแสวงหาความรู้และการวิจัยทางจิตวิทยา พัฒนาการมนุษย์ ทฤษฎีพัฒนาการและการประยุกต์ใช้ สุขภาพจิตและปัญหาพฤติกรรมนักเรียน วิธีการศึกษาพฤติกรรมนักเรียน บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา การแนะแนวและให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมนักเรียน การทำกรณีศึกษา การเรียนรู้ของมนุษย์ สมองกับการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ ความแตกต่างระหว่างบุคคลกับการเรียนรู้ เด็กพิเศษและการส่งเสริมการเรียนรู้ในชั้นเรียน
จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1. มีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการมนุษย์กับการเรียนรู้ และสามารถจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการมนุษย์ทุกช่วงวัย
2. มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มต่างๆ
3.สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ เช่น ธรรมชาติของผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคล แรงจูงใจ ฯลฯ และสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้
4. สามารถวิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียนตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีพัฒนาการ
5. สามารถวิเคราะห์ปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน
6. สามารถใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาในการศึกษาเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของนักเรียนเป็นรายบุคคล


การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
1. คุณธรรมและจริยธรรม
1.1 คุณธรรมและจริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพครู เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่
ละเมิดสิทธิทางปัญญา โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
- ตะหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัย ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
- เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
2. ความรู้
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
มีความรู้ในหลักการจิตวิทยาสำหรับครู วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ ทฤษฎี และแนวคิด
จิตวิทยาการเรียนรู้ สุขภาพจิตและปัญหาพฤติกรรมนักเรียน การศึกษารายกรณี บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาและการให้คำปรึกษานักเรียน การปรับพฤติกรรม และการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ
3. ทักษะทางปัญญา
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดเป็นระบบ การแก้ปัญหาตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
- พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องการพัฒนา
- พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียนโดยการทำรายงานและการนำเสนอในชั้นเรียน
- พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
- พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ข้อตกลงเบื้องต้นในการเรียน
1.นักศึกษาพึงระลึกว่า เอกสารประกอบการศึกษาและแผนการสอนรายวิชา เป็นแนวทางในการเรียนของนักศึกษา ให้รักษาอย่างดีและนำมาประกอบการศึกษาในการเข้าชั้นเรียนทุกครั้ง
2.ก่อนการเรียนการสอนทุกครั้งให้นักศึกษา อ่านเอกสารประกอบการสอนมาให้เข้าใจ และนำมาใช้ในห้องเรียนทุกครั้งที่เข้าเรียน หากสงสัยในเนื้อหาส่วนใด สามารถนำมาซักถามและอภิปรายได้
3.ในการเรียนในชั้นเรียนทุกครั้งนักศึกษาพึงเป็นผู้เรียนที่ดี โดยการกระทำตัวเป็น Active Learner นอกจากนี้ยังต้องเคารพสิทธิ ให้เกียรติผู้เรียนและผู้สอน ด้วยการมีมรรยาททางสังคมที่ดี
4. การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ให้ส่งตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในแผนการสอนรายสัปดาห์ หากส่งช้าเกินกำหนดคะแนนลดลงตามลำดับ หากส่งช้ากว่ากำหนดเกิน 2 สัปดาห์ คะแนนจะลดลง 4 คะแนน
ถ้าชิ้นงานนั้นลอกผลงานคนอื่นอย่างไร้จริยธรรม คะแนนที่ได้อยู่ในเกณฑ์ต่ำสุดคือ ร้อยละ 1 ของคะแนนเต็มของชิ้นงานนั้น เช่น รายงานกลุ่ม คะแนนเต็ม 10 จะได้เพียง 1 คะแนน
4.นักศึกษาสามารถติดต่ออาจารย์ผู้สอนทางโทรศัพท์ และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ในเวลาราชการ.
5.นักศึกษาสามารถขอรับคำปรึกษาทางวิชาการจากอาจารย์ที่ปรึกษา และติดตามข่าวสารรายวิชานี้ได้ที่ Web-blogรายวิชา http://patkru.blogspot.com
แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
สัปดาห์
ที่ 1
27-28
มี.ค.
53 ปฐมนิเทศ
บทที่ 1 ความสำคัญของจิตวิทยากับครู
1.1 มโนทัศน์พื้นฐานทางจิตวิทยา (ความหมายของพฤติกรรม รูปแบบการศึกษาพฤติกรรม แนวความคิดจิตวิทยา)
1.2 ครูกับการเป็นครูที่มีประสิทธิภาพ
1.3 บทบาทของจิตวิทยากับครู
1.4 ขอบข่ายความรู้ทางจิตวิทยาที่ประยุกต์ใช้กับครู 3


2
3-4
เม.ย.
53 บทที่ 2 ความรู้และการแสวงหาความรู้ทางจิตวิทยา
2.1 ความหมาย
2.2 การจัดการความรู้
2.3 การสืบค้นความรู้ทางจิตวิทยา
2.4 การแสวงหาความรู้ของมนุษย์
2.5 การวิจัยทางจิตวิทยา

3
10-11
เม.ย.
53 บทที่ 3 พัฒนาการมนุษย์
3.1 ความหมายของพัฒนาการ
3.2 พัฒนาการมนุษย์แต่ละช่วงวัย (ร่างกาย ปัญญา บุคลิกภาพและสังคม)

3.3 พัฒนาการทางบุคลิกภาพทางบุคลิกภาพกับการเรียนรู้
- ทฤษฎีพัฒนาการทางเพศ ของ Freud
- ทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคม ของ Erikson
3.4 พัฒนาการทางปัญญา และจริยธรรมกับการเรียนรู้
- ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของ Piaget
- ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ของ Kohlberg

บทที่ 3 พัฒนาการมนุษย์ (ต่อ)
3.5 การส่งเสริมพัฒนาการ
บทที่ 4 การเรียนรู้
4.1 การเรียนรู้ของมนุษย์
- ความหมายของการเรียนรู้
- ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้
- ความแตกต่างของบุคคลกับการเรียนรู้
4.2 สมองกับการเรียนรู้
- กายวิภาคและการทำงานของสมอง
- ทฤษฏีพหุปัญญา และการพัฒนาศักยภาพของสมอง
บทที่ 4 การเรียนรู้
4.3 ทฤษฎีการเรียนรู้
- ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของ Thorndike
- Classical conditioning, Operant conditioning
- Social cognitive learning theory
- เรียนรู้โดยการหยั่งเห็นของ Kohler
- Information processing theory
4.4 กระบวนการสร้างปัญญาแนวคิดจิตวิทยาตะวันออก
- กระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการ
4.5 การจัดกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน
บทที่ 4
- ทดสอบความเข้าใจการเปรียบเทียบ เลือกใช้ทฤษฏีการเรียนรู้ - ผลงาน
การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
6
8-9
พ.ค.
53 สอบกลางภาค : ความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา เรื่อง ความสำคัญของจิตวิทยากับครู วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา จิตวิทยาพัฒนาการ และการเรียนรู้ 3 ** 20 คะแนน
7
15-16
พ.ค.
บทที่ 5 สุขภาพจิตและปัญหาพฤติกรรมนักเรียน
5.1 ความหมายของสุขภาพจิต
5.2 แนวคิดจิตวิทยาอปกติ
5.3 ปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมนักเรียน
5.4 สาเหตุ และแนวทางป้องกันแก้ไข
8
22-23
พ.ค.
บทที่ 6 การศึกษารายกรณีและวิธีการศึกษาพฤติกรรม
6.1 ความหมายของกรณีศึกษา
6.2 ขั้นตอนการทำกรณีศึกษา
6.3 ข้อมูลและแหล่งข้อมูล
6.4 วิธีการศึกษาพฤติกรรม
9
29-30
พ.ค.
บทที่ 7 บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา
7.1 ความสำคัญและคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา
7.2 บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
7.3 บริการแนะแนวในโรงเรียน
7.4 ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
10
5-6
มิ.ย.
บทที่ 8 การให้คำปรึกษานักเรียน
8.1 ความหมายของการให้คำปรึกษา
8.2 ลักษณะของผู้ให้คำปรึกษา
8.3 จรรยาบรรณของการให้คำปรึกษา
8.4 ขั้นตอนการให้คำปรึกษา
8.5 ทักษะการให้คำปรึกษา
8.6 ทฤษฏีการให้คำปรึกษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
11
12-13
มิ.ย.
บทที่ 9 การศึกษาเด็กพิเศษ และวิธีการช่วยเหลือโดยประยุกต์ใช้การปรับพฤติกรรม
9.1 เด็กพิเศษ
- ความหมายของเด็กพิเศษ
- ประเภทของเด็กพิเศษ
- การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ
9.1 วิธีการช่วยเหลือโดยการประยุกต์ใช้การปรับพฤติกรรม
- ทฤษฏีการปรับพฤติกรรม
- เทคนิคการปรับพฤติกรรม
- ขั้นตอนการปรับพฤติกรรม
- การประยุกต์ใช้การปรับพฤติกรรมกับเด็กพิเศษ
**** กำหนดวันสุดท้ายของการส่ง รายงานการศึกษารายกรณี (Case –study)
สอบปลายภาค : ความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาและการประยุกต์ใช้ เรื่อง สุขภาพจิตและปัญหาพฤติกรรมนักเรียน การศึกษารายกรณี บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา การให้คำปรึกษานักเรียน เด็กพิเศษ และวิธีการช่วยเหลือโดยประยุกต์ใช้การปรับพฤติกรรม

20 คะแนน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น